2565
 

  • เดือนมีนาคม 2565 โรงงานผลิตเหล็กแท่งยาว (Steel Billets) เฟสที่ 2 ตั้งอยู่ที่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี กำลังการผลิตสูงสุด 480,000 ตันต่อปี กลับมาผลิตสินค้าและรับคำสั่งจ้างผลิตสินค้า หลังหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต
  • เดือนมีนาคม 2565 บริษัทบรรลุผลการซื้อขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าสุทธิของกิจการ (Enterprise Value) ทั้งหมดประมาณ 33,000 ล้านเยน หรือเทียบเท่ากับ 9,699 ล้านบาท
  • CHOW เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติการปรับโครงสร้างองค์กรแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และแต่งตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO)
  • CHOW เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติให้ลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดคริปโตเคอร์เรนซี่ (Cryptocurrency Mining) โดยกำหนด มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นไม่เกิน 150 ล้านบาท
  • เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 บริษัท เชาว์ แอนด์ ซีเคอี รีนิวเอเบิ้ล จำกัด ("CHOW and CKE") บริษัทร่วมทุน เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ ซีพีเอฟ โซล่าร์เซลส์ เฟส 3 โดยมีหน้าที่ดำเนินการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน บนทนุ่ ลอยน้ำ และบนหลังคา (Solar Farm, Floating & Rooftop) ในสถานที่ ติดตั้งของเจ้าของโครงการจำนวน 60 พื้นที่ เพื่อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ในราคาส่วนลดจากอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของการไฟฟ้าฯ เป็นระยะเวลา 15 ปี

2564
 

  • เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 อาร์ไอซีไอได้โอนหุ้นทั้งหมดในบริษัท ฮามาดะ เมกะ โซลาร์ จำกัด (“เฮชเอ็มเอส”) เพื่อเข้าควบรวมกับบริษัท ฮามาดะ 1 จำกัด (“ฮามาดะ 1”) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการเข้าทำสัญญาซื้อขาย โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น โดยอาร์ไอซีไอได้เข้าเป็นนักลงทุนทีเคใน ฮามาดะ 1 เพื่อ เป็นสิ่งตอบแทนสำหรับการโอนหุ้นเฮชเอ็มเอส ทั้งนี้ การควบรวมกิจการระหว่าง ฮามาดะ 1 และ เฮชเอ็มเอส มี ผลแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ของ CHOW ได้มีมติอนุมัติการจำหน่าย สินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทย่อยแล้ว
  • CHOW เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 บริษัทจัดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 มีมติอนุมัติการจำหน่ายสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทย่อยแล้ว
  • เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 อาร์ไอซีไอได้ทำสัญญาโอนสัดส่วนการลงทุนภายใต้สัญญาจีเค-ทีเค ของการ ลงทุนในโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งหนึ่งและพีเอสเจพี ได้ทำสัญญาโอนหุ้นสามัญของบริษัท กู๊ด โซลาร์ จำกัด (“จีโอโอดี”) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการผลิตไฟฟ้า ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทย่อยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม สัญญาเสร็จสมบูรณ์และโอนส่วนได้เสียในจีโอโอดีให้แก่ ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ทำให้กลุ่ม บริษัทสูญเสียอำนาจการควบคุมในจีโอโอดี
  • บริษัทย่อยได้รับคัดเลือกติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อป ในรูปแบบ PPA จำนวน 1,222 แห่งทั่วประเทศไทย ขนาดกำลัง การผลิตรวม 22.23 เมกะวัตต์ มีสิทธิการขายไฟฟ้า 15 ปี และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน ปี 2565
  • เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 บริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้โอนหุ้นสามัญที่ลงทุนในบริษัท ไทย โซล่า รูฟท๊อป ซีพี จำกัด ให้แก่ บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
  • CHOW เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติให้ลดทุนจดทะเบียนที่ออกจำหน่าย และชำระเต็มมูลค่าแล้วของบริษัท เวอเทค โลจิสติคส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวน 16.56 ล้านบาท จาก 18 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 18,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท) เป็น 1.44 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 18,000 หุ้น มูลค่าที่ตรา ไว้หุ้นละ 80 บาท โดยการลดมูลค่าที่ตราไว้จากหุ้นละ 1,000 บาท เป็นหุ้นละ 80 บาท
  • เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้จ่ายชำระเงินลงทุนส่วนที่เหลือ จำนวน 0.375 ล้านบาทแก่บริษัท เชาว์ แอนด์ ฮาโก้ โซลาร์ จำกัด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุน จดทะเบียนที่เรียกชำระเพิ่มเติม
  • เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ของบริษัท เวอเทค โลจิสติคส์ เซอร์วิส จำกัด (“VLT”) ได้มีมติอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนที่ออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่าแล้ว จำนวน 13.5 ล้านบาท จาก 18 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 18,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท) เป็น 4.5 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 18,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 250 บาท) โดยการลดมูลค่าที่ ตราไว้จากหุ้นละ 1,000 บาทเป็นหุ้นละ 250 บาท ซึ่งบริษัทย่อยได้จดทะเบียนลดทุนจดทะเบียนดังกล่าวกับกระทรวง พาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2564 ของบริษัท VLT ได้มีมติอนุมัติการลดทุน จดทะเบียนที่ออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่าแล้วจำนวน 3.258 ล้านบาท จาก 4.5 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 18,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 250 บาท) โดยการลดมูลค่าที่ ตราไว้จากหุ้นละ 250 บาทเป็นหุ้นละ 69 บาท ซึ่ง VLT ได้จดทะเบียนลดทุนจดเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564
  • เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2564 บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เจแปน จำกัด (“PSJP”) ได้ลงนามในสัญญาการจำหน่าย สินทรัพย์ของบริษัท ซัน เพาเวอร์ จำกัด (“SPW”) ซึ่งประกอบด้วยโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างก่อสร้าง 1 โครงการ และหุ้นสามัญใน SUN ให้แก่ ผู้ซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกันรายหนึ่งในประเทศญี่ป่น ซึ่งเป็นไปตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในราคา 230 ล้านเยน (ประมาณ 67 ล้านบาท)
  • ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 PSJP ได้ลงนามในสัญญาการจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท โซล เพาเวอร์ จำกัด (“SOL”) ซึ่งประกอบด้วยโครงการผลิตไฟฟ้า พลังงานระหว่างก่อสร้าง 2 โครงการ และหุ้นสามัญใน SOL ให้แก่ ผู้ซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกันรายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ใน ราคา 200 ล้านเยน (ประมาณ 58 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มบริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามสัญญาเสร็จสมบูรณ์และโอนกรรมสิทธิ์และ ส่วนได้เสียใน SOL ให้แก่ ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ทำให้กลุ่มบริษัทสูญเสียอำนาจการควบคุมใน SOL
  • เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 บริษัท ซัน พาร์ทเนอร์ เจแปน จำกัด (“SPN”) ได้ทำสัญญาโอนสินทรัพย์โครงการผลิต ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (สินทรัพย์กลุ่ม ข) และในวันที่ 30 กันยายน 2564 SPN ได้เข้าทำบันทึกข้อตกลงการขาย โครงการโกเรียวกับผู้ซื้อ ตามมติของการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และได้โอนสินทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วในวันที่ 30 กันยายน 2564
  • เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 บริษัท ซัน พาร์ทเนอร์ เจแปน จำกัด (“SPN”) ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์โครงการ ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (สินทรัพย์กลุ่ม ข) โครงการโนกาตะ และโครงการชิบูชิ ให้แก่ ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว

2563
 

  • โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น นิฮอนมัตสึ 3 (Nihonmatsu 3) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิต ติดตั้งรวม 1.48 เมกะวัตต์ อัตรา FiT 32 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี
  • CHOW อนุมัติให้ บริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทย่อย) เข้าลงทุนในบริษัท ไทย โซล่า รูฟท๊อป ซีพี จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ในประเทศไทย เพื่อลงทุนในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดย บริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ลงทุนในห้นุ สามัญที่ออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • CEPL จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศไทยรวม 2 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต
    • จัดตั้ง 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย CEPL ถือ ส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด และ บริษัท เอส.อาร์.จี.เอ. จำกัด ส่วนทุนเริ่มต้น 1,000,000 บาท โดย บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ถือส่วนทุน ร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด
  • CEPL จัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศไทยรวม 2 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต
    • จัดตั้ง บริษัท เชาว์ แอนด์ ฮาโก้ โซลาร์ จำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 1 ล้านบาท โดย บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และบริษัท ฮาโก้ อิเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้น ร้อยละ 50 และร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการ จำหน่ายระบบโซลาร์เซลล์
    • จัดตั้ง บริษัท เชาว์ แอนด์ ซีเคอี รีนิวเอเบิ้ล จำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว เริ่มต้น 1 ล้านบาท โดย บริษัท เชาว์ ไชนิง เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด, บริษัท เจริญกรุงเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และนายแพทริค หอรัตนชัย ถือหุ้นร้อยละ 50 ร้อยละ 45 และร้อยละ 5 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อดำเนิน ธุรกิจเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน
  • CHOW เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2563 มีมติอนุมัติให้บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เจแปน จำกัด (PSJP) และบริษัทอาร์ไอซีไอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสต์เมนท์ จำกัด (RICI) รวมเรียกว่า (กลุ่มบริษัทย่อย) ดำเนินการจำหน่ายบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 6 แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าของโรง ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 9 โครงการ ซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งหมด 64.21 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็น รายการจำหน่ายไป และเห็นชอบให้นำเสนต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าว

2562
 

  • CHOW เข้าทำสัญญารับจ้างผลิตเหล็กแท่งยาว (OEM agreement) กับ บริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกันในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อผลิตและขายเหล็กแท่งยาว จำนวน 400,000 ตันต่อปี อายุของสัญญามีระยะเวลา 10 ปี
  • CI เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 1,200 ล้านบาท จากเดิม 340 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 3.4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 100 บาท) เป็น 1,540 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 15.4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 12 ล้านหุ้น และเสนอขายให้แก่ CEPL ในราคาหุ้นละ 100 บาท การเพิ่มทุนดังกล่าวไม่ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของซีอีเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด CEPL ได้จ่ายชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนในเดือนกันยายน 2562 และ CI ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562
  • PSCL ได้จัดตั้งบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออสเตรเลีย จำกัด ขึ้นในประเทศออสเตรเลีย เพื่อลงทุนในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดย PSCL ได้เข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออสเตรเลีย จำกัด (ชำระเต็มมูลค่าแล้ว) ในราคา 550,100 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
  • เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออสเตรเลีย จำกัด ได้จัดตั้งและเข้าลงทุนในหุ้นทั้งหมดของบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น โฮลโค จำกัด ในราคา 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น โฮลโค จำกัด ได้จัดตั้งและเข้าลงทุนในหุ้นทั้งหมดของบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น ออพโค จำกัด ในราคา 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
  • HMS (ฮามาดะ เมกะ โซลาร์) ในเดือนกรกฎาคม 2562 ฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัทได้ยกเลิกการขอโอนย้ายสินทรัพย์ถาวรและใบอนุญาตในการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นของ HMS ให้แก่ บริษัท ฮามาดะ 1 จำกัด (“ฮามาดะ 1”) และเปลี่ยนนโยบายการลงทุนจากเดิมที่จะขายคืนเงินลงทุนใน HMS ให้แก่ ผู้ขายหรือเลิกกิจการของ HMS เมื่อได้ดำเนินการโอนย้ายโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ฮามาดะ 1 เสร็จสิ้น เป็นเข้าลงทุนใน HMS
  • เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ปิดบริษัทย่อย (บริษัท นิว เอ็นเนอร์ยี่ โซลาร์ จำกัด) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ขายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัทย่อย ให้แก่ บริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ในราคา 1 ล้านเยน (ประมาณ 0.3 ล้านบาท) กลุ่มบริษัทโอนส่วนได้เสียในบริษัทย่อยให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้วในเดือนธันวาคม 2562
  • ในระหว่างปี 2562 มีการปรับโครงสร้างการลงทุนแบบจีเค-ทีเค (GK-TK Structure) ในบริษัทย่อยบางแห่ง ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นกันภายในกลุ่มบริษัท โดยเปลี่ยนนักลงทุนทีเค (TK Investor) ภายใต้สัญญาการลงทุนทีเค (TK Agreement) ตามกฎหมายพาณิชย์ของประเทศญี่ปุ่น
  • นอกจากนี้ มีการปรับโครงสร้างการลงทุนใน HMS โดยโอนเงินลงทุนทั้งหมดใน HMS จากเดิมที่ถือหุ้นโดย PSCL ให้แก่ RICI
  • จำหน่ายโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น 5 โครงการ ให้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าซื้อขายรวม 1,932.30 ล้านเยน (ประมาณ 545 ล้านบาท)
    • โครงการโรงไฟฟ้ากิฟุ (Gifu) จังหวัดกิฟุ กำลังการผลิตติดตั้ง 0.48 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย7 (Fukui7) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 0.54 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย1 (Fukui1) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 2.22 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย5 (Fukui5) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 2.05 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย6 (Fukui6) จังหวัดฟุกุย กำลังการผลิตติดตั้ง 0.57 เมกะวัตต์
  • โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น โอโมริ (Aomori) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 7.21 เมกะวัตต์ อัตรา FiT 36 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี
  • PSCL เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศออสเตรเลีย จำนวน 3 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 172.80 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 236.79 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (หรือประมาณ 4,913.51 ล้านบาท)
  • โรงงานผลิตเหล็กแท่งยาว (steel billets) เฟสที่ 2 ตั้งอยู่ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กำลังการผลิตสูงสุด 480,000 ตันต่อปี ได้เริ่มการทดสอบการผลิตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 หลังหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต

2561
 

  • จำหน่ายโครงการโรงไฟฟ้าเคียวแทงโก (Kyotango) ให้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าซื้อขายรวม 1,540 ล้านเยน (ประมาณ 456 ล้านบาท)
  • จัดตั้ง Sun Solar GK ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่น ด้วยส่วนทุน 2,900 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น
  • โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น รวม 4 โครงการ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 31.52 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี
ชื่อโครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง (เมกะวัตต์) อัตรา FiT (เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง)
1. โครงการอิวากิ (Iwaki) 26.68 40
2. โครงการฟุกุย 1 (Fukui 1) 2.22 32
3. โครงการฟุกุย 5 (Fukui 5) 2.05 32
4. โครงการฟุกุย 6 (Fukui 6) 0.57 32
รวม 31.52  

2560
 

  • CEPL เพิ่มทุนจดทะเบียน จำนวน 245 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจำนวน 490 ล้านบาท เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) ได้มีมติจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน ดังนี้
    • หุ้นจำนวน 122.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของ CHOW ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Pre-emptive Rights)
    • หุ้นจำนวน 367.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)
  • โครงการโรงไฟฟ้าฮามาดะ 2 (Hamada 2) จังหวัดชิมาเนะ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 12 เมกะวัตต์
  • จัดตั้งบริษัท Hamada 1 GK ด้วยส่วนทุน 6,083 บาท (20,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 99.99 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อรับโอนโครงการโรงไฟฟ้าฮามาดะ 1 (Hamada 1)
  • เข้าซื้อหุ้นกิจการร่วมค้าจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมมูลค่ารวม 334 ล้านบาท
    • PSCL ซื้อหุ้นสามัญ OGE จำนวน 1,260,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด จากบริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด
    • CI ซื้อหุ้นสามัญ RICI จำนวน 9,510,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด จาก RH International (Singapore) Corporation Pte. Ltd.
    • ภายหลังจากการเข้าซื้อหุ้นทั้ง 2 บริษัท จากกลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้ OGE และ RICI รวมถึง Green Energy Japan KK, Mega Solar Park No.3 GK และ Good Solar GK ซึ่งเดิมเป็นบริษัทย่อยของ OGE เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2560 โดยกลุ่มบริษัทได้ถือครองกรรมสิทธิ์โครงการโรงไฟฟ้าอิวากิ (Iwaki) กำลังการผลิตติดตั้ง 26.68 เมกะวัตต์ (กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 22.68 เมกะวัตต์) ปัจจุบันบริษัทได้จดทะเบียนเลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัท OGE และ Green Energy Japan KK เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วน RICI คณะกรรมการบริษัท CHOW ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 มีมติให้เลิกกิจการ โดยอยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทในประเทศสิงคโปร์
  • จำหน่ายโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น 2 โครงการ ให้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าซื้อขายรวม 2,040 ล้านเยน (ประมาณ 595.08 ล้านบาท)
    • โครงการโรงไฟฟ้าโออิตะ (Oita) จังหวัดโออิตะ กำลังการผลิตติดตั้ง 3.26 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าอิบารากิ (Ibaraki) จังหวัดอิบารากิ กำลังการผลิตติดตั้ง 1.17 เมกะวัตต์
  • PSCL เพิ่มทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจาก 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท รองรับการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

2559
 

  • CEPL เรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มจำนวน 261.35 ล้านบาท โดยมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจำนวน 570 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 57 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยภายหลังการเพิ่มทุน CHOW ถือหุ้นร้อยละ 87.36 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
  • CEPL แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นบริษัทจดทะเบียน และเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 0.50 บาท โดยบริษัทมีทุนชำระแล้ว 570 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจำนวน 1,140 ล้านหุ้น
  • เข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า พร้อมที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการหรือสัญญาให้สิทธิเหนือพื้นดิน สำหรับโรงไฟฟ้านิฮอนมัตสึ 3 (Nihonmatsu 4) และนิฮอนมัตสึ 4 (Nihonmatsu 4) กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 2.052 เมกะวัตต์
  • PSCL ซื้อหุ้นบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม 1 แห่ง ได้แก่ Hamada Taiyoko Center KK ส่วนทุนเริ่มต้น 32,000 บาท (100,000 เยน) โดย PSCL ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อถือครองสิทธิ์โครงการฮามาดะ 2 (Hamada 2)
  • จัดตั้งบริษัท CC Hamada GK ส่วนทุนเริ่มต้น 3,200 บาท (10,000 เยน) โดย Hamada Taiyoko Center KK ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด รองรับการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น
  • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย 7 (Fukui 7) จังหวัดฟุกุย เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 0.54 เมกะวัตต์
  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ในประเทศไทย ซึ่งดำเนินงานโดย CI ขนาดกำลังการผลิตรวม 6.62 เมกะวัตต์ เริ่มจำหน่ายไฟเชิงพาณิชย์

2558
 

  • CEPL เพิ่มทุนจดทะเบียน จำนวน 348.46 ล้านบาท จาก 221.54 ล้านบาท เป็น 570ล้านบาท โดยเรียกชำระบางส่วน จำนวน 308.65 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อรองรับการขยายธุรกิจลงทุนในประเทศญี่ปุ่น
  • จัดตั้งบริษัทย่อยและเข้าซื้อบริษัทในประเทศญี่ปุ่น เพื่อรองรับการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าในอนาคต
    • จัดตั้งบริษัท Sun Partner GK ส่วนทุนเริ่มต้น 2,795 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด
    • เข้าซื้อส่วนทุนของบริษัท Hamada Mega Solar GK ส่วนทุนเริ่มต้น 98.51 ล้านบาท (320 ล้านเยน) โดย PSCL ถือหุ้นส่วนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด เพื่อถือครองใบอนุญาตจำหน่ายโรงไฟฟ้าของโครงการฮามาดะ 1 (Hamada 1)
    • เข้าซื้อส่วนของทุนบริษัท Bay Solar GK ส่วนทุนเริ่มต้น 3,200 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อถือครองโรงไฟฟ้าโกเรียว (Goryo) และโรงไฟฟ้าโนกาตะ (Nogata)
  • เข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นพร้อมที่ดินหรือสัญญาให้สิทธิเหนือพื้นดิน (Superficies Agreement) จำนวน 12 โครงการ
    • โครงการโรงไฟฟ้ากิฟุ (Gifu) กำลังการผลิตติดตั้ง 0.481 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าฮามาดะ 2 (Hamada 2) กำลังการผลิตติดตั้ง 12 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าอิบารากิ (Ibaraki) กำลังการผลิตติดตั้ง 1.167 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าฟุกุย 1 (Fukui 1) ฟุกุย 5 (Fukui 5) ฟุกุย 6 (Fukui 6) ฟุกุย 7 (Fukui 7) กำลังการผลิตติดตั้งรวม 5.37 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้านิฮอนมัตสึ 1 (Nihonmatsu 1) และนิฮอนมัตสึ2 (Nihonmatsu 2) กำลังการผลิตติดตั้งรวม 3.979 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าไซโตะ (Saito) กำลังการผลิตติดตั้ง 2.23 เมกะวัตต์
    • โครงการโรงไฟฟ้าอาโอโมริ (Aomori) กำลังการผลิตติดตั้ง 7.207 เมกะวัตต์
  • โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นรวม 7 โครงการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 19.52 เมกะวัตต์ ระยะเวลารับซื้อ 20 ปี
ชื่อโครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง (เมกะวัตต์) อัตรา FiT (เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง)
1. โครงการโออิตะ (Oita) 3.26 40
2. โครงการอิบารากิ (Ibaraki) 1.17 36
3. โครงการโกเรียว (Goryo) 1.50 40
4. โครงการโนกาตะ (Nogata) 1.11 40
5. โครงการชิบูชิ (Shibushi) 1.00 40
6. โครงการกิฟุ (Gifu) 0.48 36
7. โครงการฮามาดะ 1 (Hamada 1) 11.00 40
รวม 19.52  

2557
 

  • PSCL เพิ่มทุนจดทะเบียนและชำระแล้วจาก 5 ล้านบาท เป็น 7.1 ล้านบาท รองรับการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  • PSCL จัดตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศรวม 2 แห่ง เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
    • บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เจแปน จำกัด (“PSJP”) จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้นประเมาณ 29.84 ล้านบาท (100 ล้านบาท) ถือหุ้นโดย PSCL ร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อรองรับการลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น
    • บริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น เยอรมัน จำกัด (“PSGM”) จดทะเบียนในประเทศเยอรมัน ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้นประมาณ 1.12 ล้านบาท (25,000 ยูโร) ถือหุ้นโดย PSCL ร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่ช่วยประสานงานการทำประกันภัยของโครงการโรงไฟฟ้า โดยปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทในประเทศเยอรมัน
  • PSJP จัดตั้งและเข้าซื้อบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่นรวม 4 แห่ง เพื่อรองรับการลงทุนโรงไฟฟ้าในอนาคต
    • จัดตั้ง 2 บริษัท ได้แก่ Sol Power GK ส่วนทุนเริ่มต้น 2,984 บาท (10,000 เยน) และ Sun Energy GK ส่วนทุนเริ่มต้น 2,925 บาท (10,000 เยน) โดย PSJP ถือส่วนทุนร้อยละ 100 ของส่วนทุนทั้งหมด
    • เข้าซื้อหุ้น 1 บริษัท ได้แก่ AE Solar GK ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 32,000 บาท (100,000 เยน) โดย PSCL ถือหุ้นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เพื่อครอบครองใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าและสิทธิการใช้ที่ดินสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าโออิตะ (Oita)
  • จัดตั้งกิจการร่วมค้า 2 แห่ง ร่วมกับกลุ่มบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท โอเวอร์ซี กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด (OGE) จดทะเบียนในประเทศไทย ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 1 ล้านบาท โดย PSCL และบริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อให้บริการด้านการบริหารจัดการโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น
    • RICI International Investment Pte. Ltd. (“RICI”) จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเริ่มต้น 2,476 บาท (100 ดอลลาร์สิงคโปร์) โดย CI และ RH International (Singapore) Corporate Pte. Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 60 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ตามลำดับ เพื่อเป็นนักลงทุนทีเค (TK Investor) ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญีปุ่น
  • ปรับโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานและขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of interest) ระหว่าง CI และ PSCL โดยคณะกรรมการของ CHOW มีมติปรับโครงสร้างการถือหุ้นดังต่อไปนี้
    • จัดตั้ง CEPL ด้วยทุนจดทะเบียน 221.54 ล้านบาท ตามผลรวมมูลค่ายุติธรรมของ CI และ PSCL ที่ประเมินตามวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) โดยที่ปรึกษาทางการเงิน
    • CEPL ซื้อหุ้น CI และ PSCL จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CI และ PSCL เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม
  • ภายหลังการปรับโครงสร้าง CHOW ถือหุ้นใน CEPL คิดเป็นร้อยละ 76.67 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
  • เข้าซื้อใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และสิทธิการใช้ที่ดินสำหรับโครงการ เคียวแทงโก (Kyotango)
  • โครงการโรงไฟฟ้าเคียวแทงโก จังหวัดเกียวโต เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 4.02 เมกะวัตต์ อัตราการรับซื้อไฟฟ้า 40 เยนต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง

2013
 

  • CHOW set up 2 subsidiaries in Thailand to operate businesses related to investment, manufacturing, and distribution of electricity from renewable energy.
    • Premier Solution Co., Ltd. (“PSCL”), with an initial paid-up registered capital of 5 million baht, divided into 50,000 shares each of 100 baht par value, to provide consulting services for investment in solar power plants both at home and overseas. Of the total issued shares sold, 97% is initially held by CHOW and 3% by Jiratomsiri group (major shareholder of CHOW).
    • Chow International Co., Ltd. (“CI”), with an initial paid-up registered capital of 1 million baht, divided into 10,000 shares each of 100 baht par value, to invest in and develop solar power plant projects both at home and overseas. Of the total issued shares sold, 99.97% is held by CHOW.
  • PSCL restructured its shareholding and CI increased its capital by offering shares to Mr. Tanachart who has expertise and experience in managing and liaising matters related to power plant development:
    • CHOW and existing shareholder group of PSCL offered 9,500 existing ordinary shares of PSCL at the offer price of 100 baht per share to Mr. Tanachart. After the restructuring, CHOW and Mr. Tanachart hold 81% and 19% of PSCL’s total issued shares sold respectively.
    • CI raised its paid-up registered capital from 1 million baht to 50 million baht by offering 85,000 new ordinary shares at the offer price of 100 baht per share to Mr. Tanachart. After the restructuring, CHOW and Mr. Tanachart hold 83% and 17% of CI’s total issued shares sold respectively.
       

2012
 

  • CHOW was awarded Green Industry Certificate Level 1: Green Commitment from Ministry of Industry, reflecting commitment to reduction of environmental impact and communication of which made across the organization.
  • CHOW was awarded Green Industry Certificate Level 2: Green Activity from Ministry of Industry, exhibiting the implementation of activities that fulfill the preset commitment to reduction of environmental impact.
  • CHOW was granted a certificate for compliance with primary industrial enterprise social responsibility standard (CSR-DIW for Beginner Award) from Ministry of Industry.

2011
 

  • CHOW registered establishment of a branch located at no. 518/3 Moo 9, Nongkee Subdistrict, Kabinburi District, Prachinburi Province.
  • CHOW increased its paid-up capital to 800 million baht by initial public offering of a total of 200 million ordinary shares, and listed its shares on the Market for Alternative Investment (mai) on 21 December 2011.

 

2010
 

  • CHOW acquired ordinary shares of Vertex Logistics Services Co., Ltd., which operates in-land goods transport business, in a total investment amount of 7.2 million baht, representing 40% of paid-up capital of 18 million baht, in order to boost the Company’s logistic service potential in delivering its products to the customers.
  • CHOW obtained the ISO 9001:2008 Certificate from the Bureau Veritas Certification for the Manufacturing of Steel Casting which would expire on 28 December 2013.

2009
 

  • CHOW became a member of London Metal Exchange (LME), which is a global futures market, under the name of CHOW KABINBURI. Its SWORD codes shall be called differently depending on the location of the warehouse: CHOWFE for Far East contracts and CHOWME for Mediterranean contracts.
  • CHOW was transformed to and registered as a public limited company under the name “Chow Steel Industries Public Company Limited” and changed its par value from 100 baht per share to 1 baht per share.

 

2008
 

  • CHOW obtained the ISO9001:2000 certificate from the Bureau Veritas Certification for Manufacturing of Steel Casting. The certificate expired on 28 December 2010.
  • CHOW Increased paid-up capital to 600 million baht via rights issue to the existing shareholders, the proceeds from which would be used for construction of phase 2 factory.
  • CHOW started commercial production of phase 2 factory with a maximum production capacity of 480,000 tons per year, thus making up a total production capacity of 730,000 tons per year.

 

2007
 

  • CHOW received a promotion certificate no. 2228(2)/2550 from the BOI for manufacturing of steel billets under phase 2, thereby the Company has been granted corporate income tax holiday for 8 years and 50% reduction of corporate income tax on net profit earned from the promoted activities for 5 years.

 

2005
 

  • CHOW received a promotion certificate no. 1337(2)/2548 from the Board of Investment (“BOI”) for manufacturing of steel billets, thereby the Company has been granted corporate income tax holiday for 8 years and 50% reduction of corporate income tax on net profit earned from the promoted activities for 5 years.
  • CHOW started commercial production of phase 1 factory with a maximum production capacity of 250,000 tons per year.

 

2004
 

  • CHOW started construction of the factory phase 1 which is located at no. 518/1 Moo 9, Nongkee Subdistrict, Kabinburi District, Prachinburi Province.

 

2003
 

  • CHOW was established with an initial registered capital of 400 million baht to produce and distribute steel billets.